หนังศีรษะของท่านจะเหี่ยวย่นเร็วกว่าใบหน้า 6 เท่าเมื่อหนังศีรษะมีปัญหาจะทำให้ใบหน้ามีริ้วรอยง่ายขึ้น

ผู้หญิงหลายท่านรู้หรือไม่ว่า หนังศีรษะของท่านจะเหี่ยวย่นเร็วกว่าใบหน้า 6 เท่าเมื่อหนังศีรษะมีปัญหาจะทำให้ใบหน้ามีริ้วรอยง่ายขึ้นดังนั้น การที่ดูแลหนังศีรษะเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็น

ปัจจุบันเรื่องของเส้นผมเป็นปัญหาระดับชาติก็ว่าได้ คนที่มีปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะมีจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะสุภาพบุรุษเท่านั้น สุภาพสตรีก็พบปัญหามากขึ้นเรื่อยๆปัญหาใหญ่สุดก็คือเรื่องผมร่วง ผมบาง เป็นปัญหาที่มาอันดับ 1 ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้มีอายุ เด็กและวัยรุ่นก็พบเจอเช่นกัน ก่อนหน้านี้ผู้ที่มาหาหมอผมร่วง
ผมบางมักมีอายุประมาณ 35-40 ปี แต่ปัจจุบันผู้ที่มีอายุ 15-16 ปี ก็พบมาก เพราะฉะนั้น เราควรเพิ่มความรู้และศึกษาปัญหาต่างๆ ว่าเกิดจากอะไร และควรป้องกันอย่างไร

รู้จักเส้นผมของเราก่อน
เส้นผม (Hair) จะยาวขึ้นเฉลี่ยประมาณ 1.25 ซม. ต่อเดือน หรือ 15 ซม. ต่อปีและมีหลายปัจจัยที่ส่งผลทำให้เส้นผมของบางท่านยาวช้า-เร็ว , หนา-เล็ก แตกต่างกันปัจจัยเช่น เรื่อง รหัสพันธุกรรม ฮอร์โมนเพศชาย ความเครียด อายุ สุขภาพ อาหารการกินวิตามิน เกลือแร่ การเผาผลาญ หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เส้นผมของแต่ละท่านมีคุณภาพไม่เหมือนกัน และยังส่งผลต่อการงอกของเส้นผมรวมทั้งความยาวของเส้นผมคนเรามีรูขุมขนในตัวประมาณ 5 ล้าน รูขุมขน อยู่บนหนังศีรษะ ก็คือรูเส้นผมประมาณ 1แสน - 1.2 แสน เส้น มนุษย์ 1 คน จะมีผมร่วงเฉลี่ยประมาณ 50 - 100 เส้นต่อวัน

รากผมอยู่บริเวณชั้นผิวหนังระหว่างชั้นเดอมิส (Dermis) กับ ไฮโปเดอร์มิส (Hypodermis) โดยมีต่อมไขมัน (Sebaceous Glande) ช่วยสร้างความมัน ที่เรียกว่าซีบุม (Sebum) ออกมาหล่อเลี้ยงเส้นผม ทำให้เส้นผมมีความเงา ความมัน เส้นผมของเราประกอบด้วยโปรตีนถึง 95% โปรตีนที่สร้างเส้นผมเรียกว่าเคราติน (Keratin)

เส้นผมแบ่งออกเป็น 3 ชั้น          
ชั้นที่ 1 เป็นชั้นในสุดของเส้นผม เรียกว่าชั้น เมดูลา (Medulla) เป็นแกนกลางของเส้นผม          
ชั้นที่ 2 เป็นชั้นที่เป็นองค์ประกอบหลัก เรียกว่าชั้น คอร์เท็กซ์ (Cortex) ชั้นนี้จะมีเซลล์สำคัญอยู่ตัวหนึ่งชื่อว่า Melanocytes มีหน้าที่ผลิตเม็ดสี ชื่อว่าเมลานิน บางคนผลิตออกมาเป็นสีดำ บางคนเป็นสีทอง เป็นชั้นที่กำหนดสีผมของแต่ละคน          
ชั้นสุดท้าย เป็นชั้นที่ปกป้องชั้นนอกของเส้นผม เรียกว่าชั้น คิวติเติล (Cuticle)

การงอกหรือการเจริญเติบโตของเส้นผมมี 3 ระยะ          
ระยะที่ 1 เรียกว่าระยะ อะนาเจน (Anagen) หรือระยะเจริญเติบโต บนศีรษะประมาณ 85- 90% จะเป็นเส้นผมระยะนี้ เป็นระยะที่ใช้เวลานาน ประมาณ 3-5 ปีในผู้ใหญ่ หากเป็นเด็กหรือวัยรุ่น จะใช้เวลายาวนานถึง 7 ปี ระยะเจริญเติบโตจะสั้นลงตามอายุ ยิ่งระยะการเจริญเติบโตสั้นลง รากผมก็จะยิ่งแข็งแรงน้อยลง ตื้นลง และหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น            
ระยะที่ 2 เรียกว่าระยะ คาตาเจน (Catagen) เป็นระยะเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นระยะเส้นผมที่ใกล้จะหลุด เส้นผมจะค่อยๆ แยกออกจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงรากผม สารอาหารก็เริ่มน้อยลง แร่ธาตุก็เริ่มน้อยลง ตัวรากก็เริ่มอ่อนแอลง เตรียมตัวที่จะหลุดร่วงออกจากหนังศีรษะ ระยะเปลี่ยนแปลงนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ กินพื้นที่ประมาณ 1 % ของหนังศีรษะ
ระยะที่ 3 เรียกว่าระยะ เทโลเจน (Telogen) มีเส้นผมที่อยู่ในระยะนี้ประมาณ 10- 15% ก็คือระยะหยุดเจริญเติบโต ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยผมใหม่มาดันผมเก่าให้ค่อยๆ ร่วงจากหนังศีรษะ

การงอกหรือการเจริญเติบโตของเส้นผมมี 3 ระยะ          

ปัจจัยที่ทำให้ผมร่วงที่ควรทราบเพื่อการป้องกัน การแก้ปัญหาและการชะลอปัญหา 
ปัจจัยที่ 1พันธุกรรม
ปัจจัยที่ 2 การอดอาหารขาดโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน
ปัจจัยที่ 3 ระบบการทำงานของต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนต่างๆ
ปัจจัยที่ 4 การทำผมมัวนผมหรือไดร์ผม ผ่านความร้อนหรือสารเคมีเยอะ
ปัจจัยที่ 5 สิ่งแวดล้อม ฝุ่นควันและสารเคมีทำร้ายสุขภาพรูขุมขนและเส้นผม
ปัจจัยที่ 6 ผู้หญิงตั้งครรภ์ โปรตีน แร่ธาตุและวิตามินจะส่งไปเลี้ยงลูกแทน
ปัจจัยที่ 7 ความเครียด ภาวะเครียดฮอร์โมนความเครียดจะสูงขึ้น ทำให้เส้นผมบาง หลุดร่วงง่าย
ปัจจัยที่ 8 โรคอ้วนเช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมันต่างๆ
ปัจจัยที่ 9 ความยาวโครโมโซม ที่กำหนดอายุของเซลล์

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดผมร่วงผมบาง
คำถามที่ 1 ดึงผม ถอนผมหงอก เร่งผมร่วง ผมบาง จริงหรือไม่?
ตอบ  *การดึงผมหงอกทำให้ผมบางลงจริง ผมของเรามีอายุประมาณ 15-20 ครั้ง หากโดนถอนไป 1 ครั้ง มันจะสามารถขึ้นกลับมาใหม่ได้เพียง 15-20 ครั้ง หากเกินกว่านั้นจะไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ได้ เพราะฉะนั้น เราไม่ควรจะดึงผมหงอก ถ้ามีผมหงอกควรใช้วิธีย้อมผม โดยปกติแล้วการย้อมผมควรทำในปริมาณที่เหมาะสม เช่น 1-2 เดือนต่อครั้ง

คำถามที่ 2 การลดน้ำหนักเร็วๆ ทำให้ผมร่วง จริงหรือไม่?
ตอบ  *เวลาที่น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว หรือบางทีไม่ได้ตั้งใจลดน้ำหนัก  การเจ็บป่วยที่ส่งผลให้มีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน การที่เราขาดแคลอรี่ต่อวันลงไปอย่างรวดเร็ว ผมก็จะหลุดร่วงมากผิดปกติ เกิดภาวะนี้ที่เรียกว่าผมหลุดร่วงฉับพลัน

คำถามที่ 3 การสระผมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน ทำให้ผมร่วง จริงหรือไม่
ตอบ  *สระผมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนไม่ได้ส่งผลต่อเส้นผมที่หลุดร่วง ปัญหาผมร่วงเกิดจากภายใน เป็นจากการลดน้ำหนัก ขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน การเจ็บป่วยต่างๆ การสระผมด้วยน้ำร้อน หรือว่าไดร์เป่าผมร้อนๆ อาจจะทำให้ผมแห้งเสีย ผมชี้ฟู ไม่เงางาม ส่วนรังแคก็เกิดจากสระผมด้วยน้ำร้อนเช่นกัน

คำถามที่ 4 การสระผมบ่อยๆ ทำให้ผมร่วง จริงหรือไม่?
ตอบ  *การสระผมบ่อยๆ ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผมร่วง ผมร่วงมาจากภายใน โดยปกติแล้วคนผมร่วงต่อวันประมาณ 50-100 เส้น การสระผมเป็นการทำความสะอาดหนังศีรษะ การสระผมให้เหมาะสมตามสภาพหนังศีรษะ หนังศีรษะมันอาจต้องสระบ่อย อาจจะสระทุกวัน หรือสระวันเว้นวันได้ หากหนังศีรษะแห้งควรสระผม 2-3 วันต่อครั้ง หรือนานกว่านั้นก็ไม่ผิด

คำถามที่ 5 ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่มีปัญหาหนังศรีษะล้าน เราจะหนังศรีษะล้านเช่นกัน จริงหรือไม่?
ตอบ  *ปกติแล้ว ศีรษะล้านหรือผมบางมาจากพันธุกรรม เป็นโรคเกิดจากยีน ถ้าเรามีคุณพ่อหรือคุณแม่ ที่มีปัญหาเรื่องของผมบางจากพันธุกรรม เราเองจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นผมบางจากพันธุกรรมประมาณร้อยละ 60 เพราะว่ายีนที่ทำให้เกิดศีรษะล้านเป็นยีนเด่น ซึ่งจะถ่ายทอดมา สมมุติหากมีใครสักคนในครอบครัว ไม่ว่าเป็นคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือพี่น้อง ญาติๆ สักคนที่ผมบาง เราก็จะมีโอกาศผมบางได้เช่นเดียวกัน

ห้า วิธีสระผมสยบปัญหาผมมัน ผมร่วงได้ราบคาบ 
วิธีที่ 1 ให้เริ่มสระผมด้วยน้ำเปล่าก่อนใช้แชมพูสระ          
แม้ว่าการสระผมด้วยน้ำเปล่าก่อนก็จะไม่ได้เป็นการช่วยขจัดความมันได้ดีเท่าสารทำความสะอาดในแชมพูแต่การสระผมด้วยน้ำเปล่าจะช่วยลดความมันได้ระดับหนึ่งก่อนจากนั้นสระผมตามด้วยแชมพูจึงจะดีที่สุด  

วิธีที่ 2 ให้ตีฟองแชมพูก่อนนำมาสระผม          
การตีฟองไม่มีผลเกี่ยวกับสุขภาพของเส้นผมแต่การตีฟองก่อนสระจะช่วยให้เราไม่ต้องขยี้ผมมากทำให้เส้นผมไม่เสียดสีกันมากเกินไป การขยี้ผมอาจจะเกิดการเสียดสีของเส้นผมทำให้มีภาวะเปลือกผมเกิดความขรุขระ ยิ่งมีการเสียดสีมาก ก็จะทำให้เส้นผมหยาบได้ง่ายควรขยี้เส้นผมอย่างเหมาะสมด้วยแชมพูแล้วค่อยจึงใช้ครีมนวดที่เหมาะสมเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด 

วิธีที่ 3 เน้นทำความสะอาดที่หนังศีรษะ        
หนังศีรษะเป็นส่วนที่มีต่อมไขมันหากทำความสะอาดไม่ดีพอ จะเกิดการอุดตันและเป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรก ทั้งนี้หนังศีรษะและเส้นผมมีความสำคัญเท่ากันเนื่องจากว่าหนังศีรษะมีหน้าที่สร้างความมันหรือสร้างไขมันเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นที่เส้นผมแต่ในขณะเดียวกันถ้าไม่ได้ทำความสะอาดเส้นผมก็อาจจะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคได้ดังนั้นทั้งสองส่วนมีความสำคัญเท่ากัน

วิธีที่ 4 ห้ามเกาหนังศีรษะรุนแรงขณะสระผม          
ผมเปียกจะมีความบอบบางกว่าผมแห้งทำให้เสียและขาดร่วงได้ง่ายกรณีที่หวีผมตอนที่ผมแห้งมีโอกาสที่ทำให้ผมขาดน้อยกว่าผมเปียกบางคนถ้าเป็นการเกาเหมือนไปสางผมหรือไปขยี้ผมแรงๆก็อาจจะเป็นการเสียดสีมากจนเกินความจำเป็น ทำให้เกิดเปลือกผมเปิดและขาดร่วงง่ายระหว่างสระผมควรเกาที่หนังศีรษะเล็กน้อยเวลาที่มีความคันแต่ไม่ควรเกาแรงมากเกินไปจนทำให้หนังศีรษะเกิดบาดแผล เพราะอาจจะมีอาการเจ็บแสบรวมถึงมีโอกาสติดเชื้อ หรือว่ามีรูขุมขนอักเสบได้ 

วิธีที่ 5 การล้างแชมพู          
ไม่ควรให้ล้างแชมพูนานกว่าช่วงเวลาสระผมการที่ล้างแชมพูสระผมออกไปต้องใช้เวลาเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแชมพูที่ใช้มากน้อยแค่ไหนบนหนังศีรษะการที่ล้างจนรู้สึกว่าแชมพูไม่ได้อยู่บนหนังศีรษะแล้วก็น่าจะเพียงพอต่อการทำความสะอาดการที่ล้างแชมพูออกหมดแล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องล้างให้นานมากขึ้นเพราะการทำให้เส้นผมสัมผัสน้ำนานๆ อาจจะมีผลต่อสุขภาพของเส้นผมได้

สารเคมีที่มีอยู่ในยาย้อมสีผมประกอบไปด้วย
1, สารไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide)    
เป็นสารเคมีที่ช่วยกัดสีผมตามธรรมชาติให้หลุดออกเป็นสารที่มีหน้าที่กัดสีผมจะเกิดอาการแพ้ อักเสบ ให้ผมแห้งเสียได้ 

2, สีออกซิเดชั่นหรือสีพารา(สารทำสี มีด้วยกัน 2 ตัว คือ)  
2.1, พาราฟีนีลีนไดอะมีน (P-Phenylenediamine,PPD)    
2.2, พาราโทลลูอินไดอะมีน (P-Touenediamine,PTD)
เมื่อดูดซึมเข้าไปหนังศีรษะอาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง 

3, แอมโมเนีย (Ammonia)
เป็นตัวที่ช่วยให้เคลือบติดอยู่บนเส้นผมเป็นต้นเหตุทำให้ผมร่วงทำให้รากผมอ่อนแอลง
 
4, สารซิลเวอร์ไนเตรส (Silver Nitrate)
คุณสมบัติปกปิดผมขาวถ้าเข้าตาจะทำให้ตาบอดได้

ชนิดของยาย้อมผม
1, ยาย้อมสีผมชนิดชั่วคราว หลุดออกด้วยแชมพู 1-2 ครั้ง
2, ยาย้อมผมชนิดกึ่งถาวร ซึมเข้าไปชั้นกลางของเส้นผม ติดทนได้ 3-5 สัปดาห์
3, ยาย้อมผมชนิด ถาวรอยู่ถึง 2-3 เดือนได้

ผมหงอกเกิดจากอะไร
ปัจจัยที่ 1 พันธุกรรม
ปัจจัยที่ 2 โรคบางชนิด
ปัจจัยที่ 3 พฤติกรรมบางอย่างตัวเลข 30-40 ปีเป็นค่าเฉลี่ยของคนไทย                    

เด็กผมหงอกก่อนวัยอันควร
1, การทานอาหารที่มีผงชูรสเยอะ
2, การทานอาหารปิ้งย่างเยอะ
3, การทานของหวาน ดื่มน้ำอัดลมเยอะ
4, ดื่มน้ำน้อยเกินไป
5, ท้องผูกบ่อย